องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว ยินดีต้อนรับ (Welcome to Chiang Dao Subdistrict Administrative Organization)
 ข้อมูล อบต.

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว

นายสมบัติ ประธานราษฎร์ - นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว

นายสมบัติ ประธานราษฎร์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว

msgสายตรงนายก

hornข่าวประชาสัมพันธ์

การอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ธาตุ

  • วันที่ 29 ส.ค. 2565
  • อ่าน 1,271 ครั้ง

การอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ธาตุ
การอนุรักษ์ทรัพยากรแร่จะแตกต่างกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ บ้างแต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องยึดหลักการอนุรักษ์ คือ การนำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่ห้ามขุด ห้ามนำมาใช้ การอนุรักษ์แร่ในปัจจุบัน มีหลายวิธี ดังนี้ (ราตรี ภารา, 2540 )

1. การดำเนินงานทางวิชาการ เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการขุด การนำแร่ออกจากแหล่งแร่ รวมไปถึงการตกแต่งหรือแยกแร่ ตลอดจนการถลุงแร่ให้บริสุทธิ์ ในกรณีแร่โลหะ การเพิ่มประสิทธิภาพจะหมายถึง การพยายามสกัดเอาแร่ออกมาให้หมดหรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะต้องเพิ่มรายจ่ายหรือมีผลกำไรลดลงก็ตาม

2. การใช้แร่ธาตุอย่างมีประสิทธิภาพ คือการใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด โดยให้เกิดการสิ้นเปลืองน้อยที่สุด แต่ได้ผลงานมากและใช้ได้นานที่สุด

3. การนำแร่ที่ใช้ประโยชน์แล้วกลับมาใช้ได้อีก ปัจจุบันเริ่มนิยมกระทำกันมากในวงการอุตสาหกรรม ด้วยการนำเศษวัสดุที่เป็นทั้งโลหะและอโลหะประเภทต่าง ๆ มาแยกประเภท แล้วนำมาแปรรูปหรือเข้ากระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง

4. การใช้สิ่งอื่นทดแทน การนำสิ่งอื่นหรือแร่ธาตุอื่นมาใช้ นับว่าเป็นการลดปริมาณของแร่ที่จะนำมาใช้ให้ลดน้อยลง และจะเพิ่มอายุการใช้งานของแร่ธาตุเหล่านั้นออกไป เช่น แร่เหล็ก ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบรรดาแร่โลหะทั้งหลาย จนทำให้ปริมาณของแร่เหล็ก ลดน้อยลง ปัจจุบันได้นำแร่ชนิดอื่นมาทดแทนแร่เหล็ก แร่ธาตุที่เข้ามาแทนที่เหล็กมากขึ้น คือ อะลูมิเนียม นำมาใช้ทำวัสดุเครื่องใช้ ภาชนะต่าง ๆ

5. การยืดอายุการใช้งานแร่ธาตุให้ยาวนาน จัดว่าเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุอย่างถนอมและประหยัดอีกวิธีหนึ่ง เช่น ปัญหาการเกิดสนิมของเหล็กกล้า เนื่องจากเหล็กเกิดปฏิกิริยาเคมีกับอากาศได้ง่ายในที่ที่มีอากาศชื้น วิธีการป้องกันเหล็กเป็นสนิมอาจทำได้โดย
(1) ใช้สีทาผิวฉาบไว้
(2) การนำแร่โลหะบางชนิดผสมลงไปกับเหล็กหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน จะช่วยลดอัตราการเกิดสนิมของเหล็กได้บ้าง ที่รู้จักกันดี ได้แก่ โลหะสแตนเลส (Stainless Steel) ซึ่งเกิดจากการนำเอานิเกิล และโครเมี่ยมมาหลอมละลายปนกับเหล็ก

6. การตรึงราคา เป็นการอนุรักษ์แร่โดยหลักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากปริมาณที่มีจำกัดและความไม่สม่ำเสมอของการกระจายตัว ตลอดจนเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วสิ้นเปลืองไป ถ้าหากมีการควบคุมการผลิตให้สมดุลกับอัตราการใช้สอย จะลดความสิ้นเปลืองในการใช้แร่ลงได้

7. การควบคุมราคา เป็นการกำหนดให้มีราคาเดียวคงตัว มิให้มีการขึ้น ๆ ลง ๆ ตามสภาวะของตลาด จุดประสงค์ของการควบคุมราคา คือ
(1) ป้องกันการขาดแคลนแร่ธาตุที่นำมาใช้
(2) สงวนเงินตราต่างประเทศ เอาไว้ในกรณีแร่ธาตุชนิดนั้นต้องซื้อมาจากต่างประเทศ(3) ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อระบบการผลิตและบริการอื่น ๆ

8. การสำรวจแหล่งแร่ธาตุเพิ่มเติม แหล่งแร่ได้ถูกสำรวจและทำเหมืองเพิ่มมากขึ้นจนสามารถนำมาใช้งานอย่างไม่มี จำกัด ทำให้เกิดการ วิตกกังวล ในเรื่องการขาดแคลนแร่ธาตุในหมู่ประชาชนทั่วไป การสำรวจค้นหาแหล่งแร่ที่คาดว่ายังคงหลงเหลืออยู่ภายใต้ผิวโลก ด้วยเครื่องมือทันสมัย เกิดความ สะดวกและรวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องตรวจสอบรังสี (Geiger Counter) ในการสำรวจแร่ยูเรเนียม การใช้เครื่องแมกนีโตมิเตอร์ (Magneto meter) สำรวจเหล็ก การใช้ระบบคลื่นแผ่นดินไหวเทียมเพื่อสำรวจน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการสำรวจคาดว่าอนาคต จะได้ทรัพยากรแร่จากทะเลและมหาสมุทรมากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://sites.google.com/site/buu54310342/kar-xnuraks-thraphyakr-rae-thatu

แชร์ข่าวนี้ให้เพื่อน: